ประเพณีไทย4ภาค http://panupong41.siam2web.com/

ประเพณีวิ่งควาย

ช่วงเวลา
 ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ 
 ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ
พิธีกรรม
 ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

 

 

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

ช่วงเวลา
 ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓
ความสำคัญ
 เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป
พิธีกรรม
 โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย

 

 

ประเพณีกำฟ้า

ช่วงเวลา
 วันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทยพวน
ความสำคัญ
 กําฟ้า หมายถึง การนับถือฟ้า งานบุญกำฟ้าจึงเป็นงานบุญที่มีความเชื่อว่า เมื่อได้ประกอบพิธีกรรมและขอพรจากเทพยดาผู้รักษาฟ้าแล้ว เทวดาจะบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล มีความป็นสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น
พิธีกรรม
 วันสุกดิบ ตรงกับวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนในบ้านจะช่วยกันทำข้าวปุ้น (ขนมจีน) น้ำพริก น้ำยา และทำข้าวจี่ ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นทำข้าวหลามแทน และเวลาประมาณบ่าย ๓ โมง นิมนต์พระสงฆ์ทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์เสร็จแล้วพราหมณ์จะสวดบูชาเทพยดา เปิดบายศรี และอ่านประกาศอัญเชิญเทวดาให้มารับเครื่องสังเวยและในคืนวันสุกดิบ คือคนเฒ่าคนแก่ในบ้านจะเอาไม้ไปเคาะที่เตาไฟแล้วกล่าวคำเป็นมงคลในทำนองขอให้เทพยดาปกป้องรักษา
 วันกำฟ้าตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ทุกคนจะตื่นแต่เช้าตรู่ เตรียมอาหารคาวหวานไปถวายพระ โดยใส่บาตรข้าวหลามและข้าวจี่ หลังจากการถวายอาหารแด่พระสงฆ์แล้วจะมีการรับประทานอาหารร่วมกันและ เล่นกีฬาพื้นบ้าน หรือการละเล่นพื้นเมือง เช่น มอญซ่อนผ้า ช่วงชัย เพื่อสร้างความสนุกสนานให้แก่หนุ่มสาวด้วย ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะคอยฟังเสียงฟ้าร้อง โดยเชื่อว่า
 ๑. ถ้าฟ้าร้องทางทิศเหนือ หรือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทำนายว่า ฝนจะดี ทำนาได้ผลดี
 ๒. ถ้าฟ้าร้องทางทิศใต้ และทิศตะวันตก ทำนายว่า ฝนจะแล้ง การทำนาจะเสียหาย ข้าวจะยาก หมากจะแพง
 ๓. ถ้าฟ้าร้องทางทิศตะวันออก ทำนายว่า ฝนตกปานกลาง นาลุ่มจะดี นาดอนจะเสียหาย

 

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 46,929 Today: 2 PageView/Month: 42

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...