ประเพณีไทย4ภาค http://panupong41.siam2web.com/

ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ช่วงเวลา
           เทศกาลสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ความสำคัญ
          ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ เป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันมานานว่า เมื่อประมาณ สี่ร้อยปี ที่แล้ว พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองเพชรบูรณ์ ได้หายไปจากวัด ที่ประดิษฐานอยู่ ซึ่งก็คือวัดไตรภูมิ ในวันที่หายก็คือวันสารทไทย จากนั้นชาวบ้านก็กันออกตามหาและได้พบพระพุทธมหาธรรมราชาที่วังน้ำวนที่ซึ่งเคยพบพระพุทธมหาธรรมราชาเป็นครั้งแรกและได้อันเชิญมาเป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดดังนั้นพอถึงวันสารทไทย ชาวจังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้พร้อมใจกันจัดงานอุ้มพระดำน้าขึ้นเพื่อเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยบุคคลที่จะเป็น ผู้ที่อุ้มพระดำน้ำได้นั้นต้องเป็นเจ้าเมืองเพชรบูรณ์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์เท่านั้น
          พระพุทธรูปที่จะใช้ในการประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำก็คือ พระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยลพบุรีเนื้อองค์พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ มีความกว้างของหน้าตัก13 นิ้วและมีความสูง18 นิ้ว ไม่มีฐาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ
พิธีกรรม
          1. จัดให้มีการตั้งศาลเพียงตาแล้วอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชามาประทับทำพิธีสวดคาถาโดยพราหมณ์ผู้ทำพิธีนุ่งขาวห่มขาวแล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบกให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและมีงานฉลองสมโภช
          2. จัดให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารทโดยมีขบวนเรือแห่ นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ 3 ครั้ง ทิศใต้ 3 ครั้ง ชาวบ้านจะโปรยข้าวตอก ดอกไม้และข้าวต้มกลีบ เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล

 

 

 

 

ประเพณีลอยกระทงสาย

ช่วงเวลา 
         วันเพ็ญเดือนสิบสอง
ความสำคัญ
          เพื่อบูชาแม่คงคา ขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในน้ำและอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาท

 พิธีกรรม
 ก่อนถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองชาวบ้านจะเตรียมอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
 ๑. แพผ้าป่า
 ๒. กระทงสาย
 เมื่อถึงเวลา ชาวบ้านแต่ละหมู่บ้านจะจัดขบวนแห่ แต่งตัวกันสวยงามร่ายรำกันเป็นขบวนนำกระทงสายมายังท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำปิง เมื่อมาถึงพร้อมกันก็จะทำพิธีจุดธูปเทียนบูชาแม่คงคาขอขมาที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำ รำลึกจิตอธิษฐานบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้า และสุดท้ายอธิษฐานเพื่อลอยทุกข์โศก โรคบาปให้ตัวเองและครอบครัวแล้วทำการปล่อยแพผ้าป่าน้ำปิง ส่องแสงระยิบระยับสวยงาม และหากหมู่บ้านใดลอยได้ระยะสม่ำเสมอสวยงาม แสงไฟไม่ดับตลอดไป ซึ่งมีระยะห่างจนสุดสายตา ก็จะเป็นผู้ชนะสำหรับปีนั้น และขณะที่สมาชิกส่วนหนึ่งปล่อยกระทง ที่เหลือก็จะเป็นกองเชียร์ ส่งเสียงเชียร์ตีกลองร่ายรำกันอย่างสนุกสนาน

 

 

 

ประเพณีนบพระเล่นเพลง


ช่วงเวลา
 วันเพ็ญ เดือน ๓ (ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคม ของทุกปี)
ความสำคัญ
 ประเพณีนบพระเล่นเพลง เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากสุโขทัย ซึ่งได้กล่าวถึงว่า ในสมัยพญาลิไทได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่องค์พระเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ดังนั้นจึงได้มีการจัดขบวนของเจ้าผู้ครองนครไปนมัสการพระบรมธาตุ

พิธีกรรม
 จังหวัดกำแพงเพชรได้ฟื้นฟูประเพณีนบพระเล่นเพลงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยการจัดขบวนแห่พยุหยาตราจำลองไป นบพระ และเวียนเทียนพระบรมธาตุเจดีย์ และได้มีการแสดงการละเล่น เล่นเพลง กันเป็นที่เอิกเกริก รวมทั้งจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงถึงประวัติความเป็นมาของการตั้งบ้านแปงเมือง นอกจากนี้ยังได้มีการออกร้านแสดงสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น

 

 

 


 


Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 46,922 Today: 2 PageView/Month: 35

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...